NL Services

ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน




อัตลักษณ์ของผู้เรียน

ทักทาย ไหว้สวย รักด้วยสิ่งแวดล้อม

เอกลักษณ์ของสถานศึกษา

วิชาการเป็นเลิศ เชิดชูคุณธรรม นำวิถีพอเพียง

วิสัยทัศน์

โรงเรียนนาจะหลวย จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะชีวิต รู้คิดจิตอาสา ดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และพัฒนาคุณภาพสู่มาตรฐานสากล

พันธกิจ

จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ประชากรวัยเรียนได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง และมีคุณภาพ โดยพัฒนาผู้เรียนให้เป็นบุคคลที่รู้คิด มีจิตอาสา มีทักษะการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีความสามารถตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน และนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพระดับสากล

เป้าประสงค์

1. ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ ใช้สื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีอย่างมีวิจารณญาณ สามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตัวเอง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตอาสา ดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและพัฒนาสู่ความเป็นสากล

2. ครู จัดกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ เรียนรู้จากการคิดการลงมือทำ และแก้ปัญหาด้วยตนเอง สามารถใช้สื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ และดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

3. ผู้บริหาร   เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง  บริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน  เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียนและชุมชน

4. โรงเรียน จัดแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย มีบรรยากาศและสภาพแวดล้อมปลอดภัย เอื้อต่อการเรียนรู้ มีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับของชุมชน

5. ผู้ปกครองและชุมชน ร่วมคิด ร่วมปฏิบัติ ร่วมพัฒนา มีความรู้สึกร่วมเป็นเจ้าของและสนับสนุนการดำเนินงานของโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง

กลยุทธ์โรงเรียน

1. พัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีทักษะการคิดวิเคราะห์ มีวิจารณญาณในการใช้สื่อและเทคโนโลยีเพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ สามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง และพัฒนาสู่ความเป็นสากล

2. ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม มีจิตอาสา และมีทักษะการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

3. สนับสนุนส่งเสริมให้ครูจัดการศึกษาโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ใช้การวิจัยในการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ผลิตและใช้สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีในการจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ

4. จัดการศึกษาให้ประชากรในวัยเรียนอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ และพัฒนาแหล่งเรียนรู้ให้มีความหลากหลาย มีบรรยากาศและสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการเรียนรู้

5. พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา เน้นการมีส่วนร่วมจากผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน

กลยุทธ์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ

กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีทักษะการคิดวิเคราะห์ มีวิจารณญาณในการใช้สื่อและเทคโนโลยีเพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ สามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง และพัฒนาสู่ความเป็นสากล

ตัวชี้วัด

1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 8 กลุ่มสาระหลักสูงกว่าปีฐาน (ปี 2554) เพิ่มขึ้น ปีละอย่างน้อย ร้อยละ 4 ( O-net )

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 8 กลุ่มสาระระดับโรงเรียน ระดับดีขึ้นไป เพิ่มขึ้นปีละอย่างน้อย ร้อยละ 4

3. ผู้เรียนได้รับการตัดสินผลการเรียนไม่ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำปีละไม่เกินร้อยละ 5

4. ร้อยละของนักเรียนที่ใช้เทคโนโลยีในการสืบค้นข้อมูล

5. อัตราส่วนนักเรียนต่อคอมพิวเตอร์

กลยุทธ์ที่ 2 ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม มีจิตอาสา และมีทักษะการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ตัวชี้วัด

1. ร้อยละของนักเรียนที่มีคุณธรรม จริยธรรม

2. ร้อยละของนักเรียนที่มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

3. โรงเรียนนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการบริหารและจัดการเรียนรู้

4. ร้อยละของผู้เรียนที่มีทักษะงานอาชีพและคุณภาพชีวิตบนพื้นฐานของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

5. ร้อยละของครูและบุคลากรทางการศึกษาที่นำทักษะชีวิตบนพื้นฐานของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวัน

6. ร้อยละของครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีคุณธรรม จริยธรรม และปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพ

กลยุทธ์ที่ 3 สนับสนุนส่งเสริมให้ครูจัดการศึกษาโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ใช้การวิจัยในการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ผลิตและใช้สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีในการจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ

1. ร้อยละของครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ใช้สื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้

2. ร้อยละของครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ผลิตสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้

3. ร้อยละของครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ใช้การวิจัยในการพัฒนากระบวนการเรียนรู้

กลยุทธ์ที่ 4 จัดการศึกษาให้ประชากรในวัยเรียนอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ และพัฒนาแหล่งเรียนรู้ให้มีความหลากหลาย มีบรรยากาศและสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการเรียนรู้

ตัวชี้วัด

1. ร้อยละของผู้เรียนที่ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

2. ร้อยละของผู้เรียนที่จบการศึกษาภายในเวลาที่หลักสูตรกำหนด

3. ร้อยละของผู้เรียนที่ออกกลางคัน

4. ร้อยละของผู้พิการที่ได้รับการพัฒนาสมรรถภาพ

5. ร้อยละของผู้เรียนที่ได้ใช้แหล่งเรียนรู้ในการพัฒนาทักษะงานอาชีพและคุณภาพชีวิต

กลยุทธ์ที่ 5 พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา เน้นการมีส่วนร่วมจากผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน

ตัวชี้วัด

1. ผลการประเมินคุณภาพภายในผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับดีทุกมาตรฐาน

2. ผลการประเมินคุณภาพภายนอกผ่านเกณฑ์การรับรองในระดับดีทุกมาตรฐาน

3. โรงเรียนมีความเข้มแข็งในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

4. โรงเรียนมีความพร้อมและความเข้มแข็งในการบริหารและจัดการศึกษา